คำออกตัว
ผมไม่ได้เรียนเกี่ยวกับกฎหมายและไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับกฎหมาย
ซอฟต์แวร์เสรีและโอเพนซอร์ส
ซอฟต์แวร์เสรีเป็นซอฟต์แวร์ที่เคารพสิทธิของผู้ใช้และชุมชน ได้แก่ สิทธิในการรัน ทำซ้ำ เผยแพร่ ศึกษา แก้ไข และปรับปรุงโปรแกรม อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมามีขบวนการโอเพนซอร์สเกิดขึ้นเพื่อสร้างแนวร่วมกับบริษัทกระแสหลัก โดยแก้จำกัด 2 ประการของซอฟต์แวร์เสรี ได้แก่ (1) ซอฟต์แวร์เสรีในภาษาอังกฤษเรียกว่า “free software” โดยคำว่า free หมายถึงเสรีก็ได้หรือไม่เสียค่าใช้จ่ายก็ได้และมักจะถูกเข้าใจผิดว่าหมายถึงไม่เสียค่าใช้จ่าย และ (2) ศัพท์ว่า “free software” ทำให้ชาวบริษัทจำนวนมากกังวลใจ
อย่างไรก็ตามภาษาไทยไม่มีปัญหาความคลุมเครือของคำว่า “เสรี” แบบคำว่า “free” ในภาษาอังกฤษ และยังไม่มีข้อมูลว่าชาวบริษัทในประเทศไทยรู้สึกดีกับศัพท์ว่า “โอเพนซอร์ส” กว่าศัพท์ว่า “เสรี” นอกจากนั้นคำว่า “เสรี” เช่น ตลาดเสรี การค้าเสรี เสรีประชาธิปไตย ก็เป็นคำศัพท์ที่มีความหมายไปในทางทุนนิยมที่ชื่นชอบของบริษัทที่แสวงหาผลกำไรแบบปกติ
หลักการ
โปรแกรมใดจะเป็นซอฟต์แวร์เสรีก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพ 4 อย่างข้อต่อไปนี้
- เสรีภาพที่จะใช้งานโปรแกรมเพื่อจุดประสงค์อะไรก็ตาม
- เสรีภาพในการศึกษาและแก้ไขดัดแปลงโปรแกรม ข้อนี้ทำให้ต้องเข้าถึง source code ได้
- เสรีภาพในการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ที่ยังไม่ได้แก้ไข
- เสรีภาพในการเผยแพร่แวร์ที่แก้ไขแล้วออกไป
กฎหมายไทย
จากพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ มาตรา 27 “การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ (๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง (๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน” เห็นได้ว่ามาตรานี้จำกัดเสรีภาพในดัดแปลงแก้และเผยแพร่งานซึ่งขัดกับหลักซอฟต์แวร์เสรี นอกจากนั้นในมาตรา 4 ระบุไว้ว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นวรรณกรรมและในมาตรา 6 ระบุว่าวรรณกรรมเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ทำให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้าข่ายนี้ด้วย
นอกจากนั้นผู้สร้างสรรค์ผลงานเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 8 ดังนั้นผู้มีลิขสิทธิ์จึงเกิดขึ้นโดยที่ไม่ต้องจดหรือลงทะเบียนกับรัฐเลย และเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่มีอำนาจในการยกเลิกลิขสิทธิ์ในมาตรา 15 ซอฟต์แวร์เสรีจึงต้องเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีลิขสิทธิ์ ไม่ใช่โปรแกรมไม่มีลิขสิทธิ์
อย่างไรก็ตามเพื่อให้ทุกคนมีเสรีภาพตามหลักการซอฟต์แวร์เสรี เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ทุกคนมีสิทธิ์ในการทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้เช่าหรือให้สำเนาได้เป็นการทั่วไปโดยระบุไว้ในสัญญาอนุญาต
ส่วนประกอบของสัญญาอนุญาตพื้นฐาน
สัญญาอนุญาตก็คืออนุญาตอย่างน้อยให้ทำตามเสรีภาพที่ควรมีของซอฟต์แวรเสรีคืออนุญาตให้ใช้งาน ทำซ้ำ เผยแพร่ เช่น บางส่วนของสัญญาอนุญาตแบบ Expat/MIT «Permission is hereby granted, free of charge, to any person obtaining a copy of this software and associated documentation files (the “Software”), to deal in the Software without restriction, including without limitation the rights to use, copy, modify, merge, publish, distribute, sublicense, and/or sell copies of the Software, and to permit persons to whom the Software is furnished to do so, subject to the following conditions:» จะเห็นว่ามีคำว่า use copy modify publish และ distribute ด้วย
ความเป็นสาธารณะ
คนธรรมดามักจะช่วยเหลือส่วนรวมก่อนช่วยเหลือเอกชนหรือบุคคลที่ไม่ได้เป็นอะไรกัน เช่น บริจาคหนังสือให้สมุดสาธารณะแทนที่จะบริจาคให้ห้องสมุดส่วนตัวของคหบดีท่านหนึ่งที่ไม่รู้จักกัน การลงทุนลงแรงกับซอฟต์แวร์เสรีก็คล้ายกัน ในกรณีคนปกติก็อยากช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความเป็นสาธารณะมากกว่าซอฟต์แวร์ของคนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกัน
คนทั่วไปยิ่งไม่อยากให้คู่แข่งเอาเปรียบ สำหรับซอฟต์แวร์เสรีการที่คู่แข่งแก้ไขปรับปรุงแล้วเอาไปขายหรือใช้ในกิจการแต่ไม่เผยแพร่รหัสต้นฉบับ (source code) สู่สาธารณะ อาจมองว่าเป็นการเอาเปรียบคนอื่นจนเกินไป สัญญาอนุญาตบางแบบโดย เช่น GNU General Public License (GPL) สร้างมาเพื่อจัดการประเด็นนี้โดยมีข้อความส่วนหนึ่งว่า “You may convey a work based on the Program, or the modifications to produce it from the Program, in the form of source code under the terms of section 4, provided that you also meet all of these conditions:” ซึ่งมีเงื่อนไขให้เผยแพร่รหัสต้นฉบับที่แก้ไขแล้ว ตัวอย่างซอฟร์แวร์ที่ใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่น Linux Wordpress VLC Blender ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยม และโดยเฉพาะ Linux มีเอกชนหลายเจ้าช่วยกันพัฒนา
อย่างไรก็ตามในยุคที่ใช้งานผ่านเครือข่ายก็มีการอ้างว่าไม่ได้เผยแพร่โปรแกรม จึงไม่ต้องแจกจ่ายรหัสต้นฉบับจึงมีสัญญาอนุญาต GNU AFFERO GENERAL PUBLIC LICENSE (AGPL) ซึ่งมีข้อความส่วนหนึ่งว่า “Notwithstanding any other provision of this License, if you modify the Program, your modified version must prominently offer all users interacting with it remotely through a computer network (if your version supports such interaction) an opportunity to receive the Corresponding Source of your version by providing access to the Corresponding Source from a network server at no charge, through some standard or customary means of facilitating copying of software.” เป็นเงื่อนไขว่าต้องแจกจ่ายรหัสต้นฉบับเมื่อมีนำโปรแกรมที่แก้ไขปรับปรุงไปให้ใช้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ที่ใช้สัญญาอนุญาต AGPL เช่น Mastodon Nextcloud OnlyOffice ทั้งหมดเป็นโปรแกรมสำหรับใช้งานผ่านระบบเครือข่าย
สิทธิบัตร
ประเทศไทยยังไม่สิทธิบัตรซอฟต์แวร์ แต่ไม่ใช่ทุกคนอยู่ในประเทศไทยหรือจะอยู่ในประเทศไทยตลอดเวลา จึงต้องคำนึงถึงสิทธิบัตรด้วย เพราะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์แต่ละเมิดสิทธิบัตรก็เสียทรัพย์ได้ ดังนั้นสัญญาอนุญาต GPL รุ่นที่ 3 จึงมีข้อความเกี่ยวกับการยุติสิทธิบัตรและค่าสินไหมด้วย «A contributor's “essential patent claims” are all patent claims owned or controlled by the contributor, whether already acquired or hereafter acquired, that would be infringed by some manner, permitted by this License» เช่น เดียวกับสัญญาอนุญาต Apache รุ่นที่ 2 ก็มีความลักษณะคล้ายกันว่า “Subject to the terms and conditions of this License, each Contributor hereby grants to You a perpetual, worldwide, non-exclusive, no-charge, royalty-free, irrevocable (except as stated in this section) patent license to make, have made, use, offer to sell, sell, import, and otherwise transfer the Work”
ส่วนที่ไม่ใช่โปรแกรม
สัญญาอนุญาตที่เป็นที่นิยมใช้กับเอกสาร รูปภาพ วิดีโอ และเพลงโดยเฉพาะคือสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ซึ่งเขียนย่อว่า CC โดยมีเงื่อนไขย่อยให้เลือกคือ BY คือให้เครดิตว่าเจ้าของผลงาน SA คือหากมีการแก้ไขปรับปรุงต้องเผยแพร่งานที่แก้ไขในสัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน NC คือห้ามใช้เพื่อการค้า ND คือห้ามดัดแปลง ซึ่งจะเป็นได้ว่าเงื่อนไข NC และ ND ขัดกับหลักการซอฟต์แวร์เสรี โครงการที่ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ เช่น วิกิพีเดีย
สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ถึงแม้จะมีบางบางที่เข้ากันไม่ได้กับซอฟต์แวร์เสรี แต่ก็เป็นการให้สิทธิเป็นการทั่วไปกับสาธารณะกล่าวคือทุกคนได้รับสิทธิ ต่างจากข้อตกลงที่ของบริการโซเชียลมีเดียหลายรายที่ผู้ใช้จะใช้งานได้ก็ต่อเมื่อยอมรับข้อตกลงที่ให้สิทธิแพลตฟอร์มนำผลงานไปใช้ ประมวลผล แก้ไขดัดแปลง เผยแพร่ หรือแม้แต่อนุญาตคนอื่นต่อ
การเลือกสัญญาอนุญาต
โดยทั่วไปควรเลือกสัญญาอนุญาตที่มีความเป็นสาธารณะ เช่น GPL หรือ AGPL เพราะคนธรรมดาย่อมอยากช่วยส่วนรวมมากกว่าเอกชน ยกเว้น
- โปรแกรมสั้นมากใช้ APACHE-2.0 เพราะเขียนใหม่เอาก็ได้ง่าย ๆ ใช้ GPL ก็ไม่มีประโยชน์
- ต้องการใช้งานกว้างขวางถึงแม้บุคคลหรือนิติบุคคลที่นำไปใช้จะไม่เผยแพร่ส่วนที่แก้ไขก็ตาม เช่น libogg ที่อยากให้คนใช้ OGG แทน MP3 ให้ใช้สัญญาอนุญาต APACHE-2.0
- ไลบรารี (Library) ที่ไม่ได้รวมเข้ามาเป็นส่วนเดียวกับโปรแกรม (dynamic link) ที่ต้องการให้คนใช้งานกว้างขวาง แต่ไม่ต้องการให้ไลบรารีเองโดนยังคงความเป็นสาธารณะ แต่ไม่มีเงื่อนกับโปรแกรมที่เรียกใช้ไลบรารี
ควรหลีกเลี่ยงสัญญาอนุญาตแบบ Expat หรือสัญญาอนุญาต MIT เพราะอาจจะทำให้ชุมชนที่พัฒนาและใช้งานซอฟต์แวร์ถูกคุกคามโดยใช้สิทธิบัตรได้ อย่างไรก็ตามอาจจะมีความจำเป็นต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบนี้กับองค์กรที่มีความต้องพิเศษและพิจารณาแล้วว่าส่งผลดีกับตัวเองและส่วนรวม
อ่านเพิ่ม